Paris 2024 กรีนแบบใด?
ที่จะเซตมาตรฐานด้านความยั่งยืน
- admin
- น้องดิน

‘Less, better and for longer’
.

.

.

-ตั้งเป้าให้ใหญ่ไว้ก่อนด้วยการพยายามลดการปล่อยคาร์บอนให้ได้ 50% ของโอลิมปิกที่กรุงลอนดอน 2012 (3.3 ล้านตัน) และเมืองริโอ 2016 (3.6 ล้านตัน)
-Material footprint เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่คำนวณค่าฟุตพริ้นท์ของอุปกรณ์เครื่องใช้ทรัพยากรอย่างละเอียด ตั้งแต่ก่อน ระหว่างและหลังการแข่งขันไล่มาตั้งแต่เตียง โต๊ะ ที่นั่ง ไปจนถึงลูกเทนนิสที่ใช้ในสนาม จะทำการวางแผนเส้นทางการใช้งานอย่างละเอียด
-เน้นการใช้พลังงานหมุนเวียนเกือบ 100% จากพลังงานลม แสงอาทิตย์และก๊าซชีวภาพตลอดระยะเวลาการแข่งขันและลดการใช้พลังงานดีเซลให้น้อยที่สุด

-95% ของสถานที่จัดการแข่งขันสร้างขึ้นแบบชั่วคราวหรือเป็นสิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่แล้ว ส่วนที่สร้างขึ้นจะต้องใช้วิธีที่ก่อให้เกิดคาร์บอนต่ำซึ่งมีเพียง 2 แห่งเท่านั้น ได้แก่ ศูนย์กีฬาทางน้ำและสนามแบดมินตัน-ยิมนาสติก
-ศูนย์กีฬาทางน้ำออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้งานของคนท้องถิ่นหลังจากที่การแข่งขันจบลง โดยใช้พลังงานจากแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาขนาด 4,680 ตารางเมตร
– ที่นั่งทั้งหมดในสนามทำจากขยะพลาสติกรีไซเคิล โดยมีแนวคิดว่าไม้คือวัสดุที่เป็นหัวใจในการออกแบบอาคาร ซึ่งเป็นวิธีที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระหว่างการก่อสร้าง
-การลดจำนวนเฟอร์นิเจอร์ที่คาดการณ์ไว้ 8 หมื่นรายการเหลือ 6 หมื่นรายการ
-อุปกรณ์กีฬากว่า 2 ล้านชิ้น หรือคิดเป็น 3 ใน 4 เป็นการเช่าหรือนำมาจากสหพันธ์กีฬา
-3 ใน 4 ของอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ อัฒจันทร์ เต็นท์ บังกะโลก็เน้นการเช่าแทนซื้อเช่นกัน
-ผู้จัดงานกล่าวว่า 90% ของข้าวของเครื่องใช้ในการจัดงานกีฬาโอลิมปิกครั้งนี้ ยืนยันว่ากว่า 6 ล้านชิ้นจะนำกลับมาใช้ใหม่ โดย 10% ที่เหลือกำลังวางแผนเพื่อหาวิธีการที่จะใช้ซ้ำอีกครั้ง






-วางแผนปรับปรุงและฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่ในกับชุมชนท้องถิ่นบริเวณแม่น้ำแซน-แซงต์-เดอนีส์ สำหรับประโยชน์ใช้งานในระยะยาว
-ศูนย์กีฬาทางน้ำที่สามารถใช้พื้นที่กิจกรรมได้หลากหลายเพื่อชุมชนบริเวณโดยรอบ อาทิ การปีนเขา และฟิตเนส และพื้นที่สำหรับกีฬาประเภทบุคคลและประเภททีม
-หลังจากการแข่งขันหมู่บ้านนักกีฬาโอลิมปิกจะถูกนำไปปรับเปลี่ยนเป็นที่พักอาศัยและเขตธุรกิจแห่งใหม่ที่สามารถสร้างงานให้กว่า 6,000 คน และอพาร์ทเมนต์สำหรับ 6,000 คน โดย 1ใน 4 ของที่อยู่อาศัยเหล่านี้จะกันไว้ให้กับการเคหะสาธารณะ ส่วนอีกสามแห่งจะปล่อยเช่าเป็นที่อยู่อาศัยราคาไม่แพงสำหรับคนมีรายได้น้อยและนักศึกษา ซึ่งรัฐจะเข้ามาบริหารจัดการ คาดว่าจะช่วยบรรเทาปัญหาอัตราว่างงานมากกว่า 20% ในบริเวณนี้ให้ดีขึ้น
-การทำความสะอาดเพื่อฟื้นฟูแม่น้ำแซนครั้งใหญ่ โดยหวังว่าในปี 2025 (2568) ชาวปารีสจะสามารถใช้ประโยชน์ร่วมกันต่อไป
.

-จากการคาดการณ์คิดว่าระหว่างการจัดการแข่งขันจะมีการเสิร์ฟอาหารถึงกว่า 13 ล้านมื้อ ซึ่งต้องวางแผนการจัดการล่วงหน้าร่วมกันกับองค์กรและพาร์ทเนอร์กว่า 120 แห่ง อาทิ เกษตรกร ผู้ผลิต ฝ่ายจัดเลี้ยง รวมถึงนักโภชนาการ โดยตั้งเป้าหมายที่จะปล่อยคาร์บอนให้ได้ครึ่งหนึ่งของมื้ออาหารโดยปกติ
-เพิ่มอาหารที่มีส่วนผสมจากพืช plant-based ให้กับทุกคนรวมถึงผู้ชมและทีมงานด้วยเช่นกัน
-ส่วนผสมกว่า 80% มาจากวัตถุดิบในท้องถิ่น ซึ่งหนึ่งในสี่ผลิตขึ้นในระยะทางไม่เกิน 250 กิโลเมตรจากสถานที่จัดงาน
-ลดขยะอาหารด้วยการประเมินปริมาณที่ต้องใช้ให้รัดกุม การจัดส่ง การทำปุ๋ยหมัก หรือแปรรูปอาหารทั้งหมดที่ไม่ได้บริโภค
-ลดพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้งในการจัดเลี้ยงให้กับผู้ร่วมงานลงอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง ซึ่งหลังจากจบการแข่งขันอุปกรณ์จัดเลี้ยงต่างๆ ทั้งหมดนั้นจะนำกลับมาใช้ใหม่
-ตู้กดน้ำและน้ำอัดลม 700 แห่งกระจายอยู่บริเวณสถานที่จัดการแข่งขัน โดยมีจุดเติมน้ำฟรีให้กับผู้ชมที่พกขวดหรือกระบอกมาน้ำมาเอง
.

-ส่งเสริมให้ใช้บริการขนส่งสาธารณะ ด้วยการวางแผนตารางจัดการแข่งขัน เพิ่มเลนจักรยานขึ้นใหม่อีกกว่า 400 กิโลเมตร
-สถานที่จัดงานทั้งหมดสามารถเดินทางเข้าถึงด้วยระบบขนส่งสาธารณะ โดยวางแผนให้มีการเพิ่มบริการรถบัส รถไฟใต้ดิน และรถไฟในบริเวณกรุงปารีส มากขึ้นอีก 15%
ลดระยะเวลาการเดินทางด้วยการจัดวางให้สนามการแข่งขัน 80% ตั้งอยู่ในระยะห่าง 10 กม.จากหมู่บ้านนักกีฬา
-เน้นการใช้ยานพาหนะระบบไฟฟ้า ไฮบริด และไฮโดเจน ในการรับส่งนักกีฬาและผู้เข้าร่วมงาน โดยคำนวณเส้นทางอย่างเหมาะสม คาดว่าจะสามารถลดจำนวนยานพาหนะลงได้ถึง 40% เทียบกับการแข่งโอลิมปิกครั้งก่อน
.

.
.
.
—————————————–

ลดขยะและรักษ์โลกได้มากขึ้น จากแบรนด์ RAAKDIN
Line : @Raakdin
Tel : 086-342-2498
LESS WASTE, MORE VALUE
Facebook
Email
Related Posts

[Unbox] จากเพจ AfterTaste RAAKDIN 3L รุ่นใหม่ ถังใหญ่ใส่เศษอาหารได้จุใจกว่าเดิม
#น้องดินขอแชร์ [Unbox] เครื่องกำจัดเศษอาหารเป็นปุ๋ยรุ่นใหม่ | หม้อใหญ่ใส่ได้จุใจกว่าเดิม | RAAKDIN 3L จากเพจ AfterTaste พี่ๆคนไหนกำลังศึกษาเรื่องเครื่องย่อย ถือว่าดูคลิปนี้ แล้วได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แน่นอนครับ…ไปดูกันเลย

รีวิวเครื่องย่อยเศษอาหารอัตโนมัติ RAAKDIN รุ่น 3L จากเพจ AfterTaste เรียกได้ว่าละเอียดมากๆ
#น้องดินขอแชร์ รีวิวเครื่องย่อยเศษอาหารอัตโนมัติ RAAKDIN รุ่น 3L จากเพจ AfterTaste เรียกได้ว่าละเอียดมากๆเลย พี่ๆคนไหนกำลังศึกษาเรื่องเครื่องย่อย ถือว่าดูคลิปนี้ แล้วได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แน่นอนครับ…ไปดูกันเลย